Brand Differentiation สร้างความแตกต่างเพื่อเพิ่มยอดขาย

“การสร้างความแตกต่างของแบรนด์ เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางการตลาด ช่วยให้บริษัทได้แสดงความสามารถในการทำกำไรและสร้างจุดขายที่ไม่เหมือนใคร”

ทำไมการสร้างความแตกต่างของแบรนด์จึงมีความสำคัญ?      

การสร้างกลยุธท์ความแตกต่างของแบรนด์ (Brand Differentiation) และการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าอย่างละเอียดเป็นสิ่งสำคัญ เจ้าของธุรกิจมักต้องการให้แบรนด์มีความโดดเด่นและแต่งต่างจากคู่แข่งในตลาด เพื่อหลีกเลี่ยงการกำหนดราคาที่ไม่สมดุล โดยกกลยุทธ์ารสร้างความแตกต่างนี้ ทําให้พวกเขามีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 
สิ่งสำคัญคือการค้นหาข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในระยะยาวได้ ทั้งยังทำให้สามารถเพิ่มฐานกลุ่มเป้าหมาย ยอดขายและรายได้ให้มากขึ้น

กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของแบรนด์มี 5 วิธีดังต่อไปนี้

1. กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม Innovator (Become an Innovator)

วิธีนี้จะทำให้คุณสร้างความแตกต่างได้อย่างแน่นอน  เพราะคุณสามารถคิดค้นสินค้าและบริการที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อนหรือเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หากคุณสามารถนำนวัตกรรมเข้าสู่ตลาดพร้อมทั้งสร้างความโดดเด่นและความน่าเชื่อถือได้ก่อน จะทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญ คือ ควรศึกษาข้อมูลเพื่อเข้าใจความต้องการ จุดบกพร่องและความชอบของกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก


2. กลยุทธ์การดึงดูดด้วยการกำหนดราคาต่ำที่สุด (Choose a Winning Pricing Strategy)

เราสามารถดึงดูดลูกค้าด้วยกลยุทธ์ราคาต่ำและจับต้องได้ แต่ยังคงคุณภาพของสินค้าไว้ เน้นขายปริมาณมากแต่กำไรน้อย ซึ่งอาจจะทำให้เราเป็นผู้นำใน Mass Market เพราะสินค้า บริการที่มีคุณภาพและราคาไม่สูง มักเป็นสิ่งที่ต้องการของคนส่วนใหญ่เพราะลูกค้าจะรู้สึกถึงความคุ้มค่านั่นเอง


3. กลยุทธ์การแก้ปัญหาเฉพาะตัวบุลคล (Solve Clients’ Unique Problems)

เราสามารถนำเสนอสินค้าและบริการตามความชอบส่วนบุคคลเพื่อให้สินค้าเป็นที่ยอมรับและมีคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่ง เช่น การออกแบบเสื้อยืดตามสไตล์ของแต่ละบุคคล (Customize)  ตั้งแต่สี ขนาดและเนื้อผ้า โดยกลยุทธ์ลักษณะนี้เป็นการสร้างสินค้าและบริการจากความต้องการได้อย่างตรงจุดและยังสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าได้อีกด้วย 

 

4. กลยุทธ์ Emotional Marketing (Appeal to Emotions)

    กลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่ใช้ ‘อารมณ์’ หรือ ‘ความรู้สึก’ ในการเข้าถึงลูกค้า  กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกร่วม เช่น ความโกรธ ความสุข ความเห็นอกเห็นใจ ไปจนถึงความภูมิใจ สร้างเรื่องราวเพื่อให้สินค้าหรือแบรนด์มีคุณค่าและมีความหมายต่อจิตใจมากขึ้น โดยมีเป้าหมายในระยะสั้นคือ การเพิ่มยอดขายหรือเป็นที่จดจำ และเป้าหมายในระยะยาวคือ การได้รับการสนับสนุนจากฐานลูกค้าเก่า 


5. กลยุทธ์การให้บริการลูกค้าที่ไม่เหมือนใคร (Deliver Unique Customer Support)

เป็นการปฏิบัติกับลูกค้าด้วยความเต็มใจและมีความเท่าเทียมกันในทุกๆราย เพื่อให้ลูกค้าเห็นถึงความตั้งใจที่แบรนด์พร้อมจะช่วยเหลืออย่างแท้จริง และให้ลูกค้าได้รู้สึกว่าเป็นการจ่ายเงินที่คุ้มค่ากับการ
ใช้สินค้าและบริการ อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารให้หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน ลูกค้ามีตัวเลือกหลากหลายช่องทางในการเข้าถึงสินค้าและบริการ
ดังนั้น หากธุรกิจมีช่องทางในการติดต่อที่ครอบคลุม จะช่วยรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าประจำได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถเข้าใจ Customer Insights เพื่อนำมาวางแผนในการสื่อสารทางการตลาดในอนาคตได้อย่างเหมาะสม และพัฒนารูปแบบการติดตามลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่าง 5 กลยุทธ์สร้างความแตกต่างเพื่อเพิ่มยอดขาย อย่างไรก็ตามยังมีความแตกต่างด้านอื่นๆอีกมากมายที่จะช่วยให้ธุรกิจและบริการนั้นมีความโดดเด่น และมีโอกาสเหนือกว่าคู่แข่ง ดั้งนั้นผู้ประกอบการเอง ควรให้ความสำคัญกับสรรสร้างความแตกต่างที่ไม่เหมือนใคร เพื่อจะดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค